Thursday, September 11, 2014

WAN Network

ระบบเครือข่ายแบบ WAN
ความหมาย
          WAN  ย่อมาจาก Wide Area Networks คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกลมาก เป็นหลาย ๆ กิโลเมตร ซึ่งอาจใช้เชื่อมโยงระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps และ 1.5-2 Mbps ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล ผ่านสื่อที่เป็นตัวกลางรับ-ส่งข้อมูลเช่น สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม เป็นต้น WAN ต่างกับ LAN ตรงที่สามารถเชื่อมโยงได้ในระยะทางที่ไกลมากกว่า
WAN : Wide Area Networks

ประเภทของเครือข่าย WAN
เครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ
                    1 . เครือข่ายส่วนตัว (private network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กร เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย
เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของ ข้อมูล
สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา
จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ และหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย
 ซึ่งอาจจะไม่สามารถจัดช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้
                    2. เครือข่ายสาธารณะ (PDN: public data network) หรือบางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (VAN: Value Added Network) เป็นเครือข่าย WAN ที่จะมีองค์กรหนึ่ง (third party)
เป็นผู้ทำหน้าที่ในการเดินระบบเครือข่าย และให้เช่าช่องทางการสื่อสารให้กับ บริษัทต่างๆ ที่ต้องการสร้างระบบเครือข่าย ซึ่งบริษัทจะลดค่าใช้จ่ายของตนลงได้ เนื่องจากมีบุคคลอื่นมาช่วยแบ่งปันค่าใช้จ่ายไป ซึ่งจะนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว
สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่าง หลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว
ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ
            ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ระบบในรูปแบบนี้ภายใต้การบริการของ GE (General Electric) ตั้งระบบชื่อ GEIS (GE Information Services Company)
สำหรับประเทศไทย เริ่มมีแนวความคิดในการใช้ระบบนี้ในเครือข่าย GINET (Government Information Network) โดยทางเนคเทคจะตั้งเครือข่ายเพื่อการบริการ
และให้หน่วยงานต่าง ๆ มาเชื่อมสัญญาณเข้าที่ระบบนี้



รูปแบบของเครือข่าย WAN
1.  เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network)
 เป็นบริการระบบเครือข่ายสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโทรศัพท์  ระบบสายเช่า(lease line) ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดสองจุด
เพื่อให้สามารถติดต่อส่งข้อมูลกัน โดยการเชื่อมวงจรอาจเชื่อมอยู่ตลอดเวลาก็ได้ เช่น ระบบโทรศัพท์  หรืออาจเป็นเครือข่ายอนาลอก เช่น โทรศัพท์ หรือ เครือข่ายดิจิตอล
เช่น ISDN ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็น การเชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด ( point-to-point) 
           ข้อดีของเครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network)
                -  มีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่ตลอดเวลา  เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางกับผู้อื่น
           ข้อเสียของเครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network)
                  -  ต้องมีการเชื่อมต่อกันทุก ๆ จุดที่มีการติดต่อกัน
2. เครือข่ายแบบสลับแพคเกต ( Packet Switching Data Network )
 เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุด   มีการทำงานโดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลที่ต้องการส่งระหว่างจุดสองจุดออกเป็นชิ้น (packet)  เล็กๆ เพื่อทำการส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ  การแบ่งข้อมูลออกเป็นpacket  มีข้อดีคือทำให้สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าจะมีการติดต่อกันระหว่างกี่จุดก็ตาม รวมทั้งสามารถส่งแต่ละpacket ด้วยเส้นทางต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละpacket กลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว จึงเป็นการใช้ทรัพยากร (resource) ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
3. ISDN
บริการ Integrated Services Digital Network(ISDN) เป็นระบบเครือข่ายแบบดิจิตอลซึ่งสามารถทำการส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ อุปกรณ์ต่างๆ
สามารถเชื่อมเข้ากับ ISDN ได้โดยตรงผ่านทางตัวเชื่อมแบบดิจิตอล ทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่านการแปลงระหว่างสัญญาณอนาลอกและดิจิตอลด้วยโมเด็มอีก
ช่องทาง(Channel)ของ ISDN มีความเร็วสูงถึง 64 Kbps  บริการของ ISDN จะสมารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
             3.1. Narrow Band ISDN (ISDN - N) โครงข่ายทีพัฒนาเพิ่มเติมจากระบบโทรศัพท์เดิม
โดยใช้สัญญาณดิจิตอลในการสือสารแทนการใช้สัญญาณอนาลอกผ่านคู่สายที่มีอยู่เดิม  สามารถแบ่งได้เป็น
              -          Basic Rate Interface (BRI) เป็นการเชื่อมต่อขั้นพื้นฐานของ ISDN โดยภายในหนึ่งคู่สาย จะมีช่องสัญญาณอยู่ 3 ช่อง
ประกอบด้วย ช่องสัญญาณแบบ B( Bearer ) ซึ่งสามารถส่งได้ทั้งข้อมูลและเสียงด้วยความเร็ว 64 Kbps ต่อช่อง 
จำนวน 2 ช่อง และช่องสัญญาณแบบ D (Data) ซึ่งใช้ควบคุมช่องสัญญาณแบบ B จะส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 16 Kbps จำนวน 1 ช่อง
             -          Primary Rate interface (PRI) จะเป็นการสื่อสารแบบความเร็วสูง โดยประกอบด้วย Bearer Channel จำนวน 23 ช่อง
และ Data Channel  ขนาดความเร็ว 64 Kbps อีก 1 ช่อง ทำให้ได้ความเร็วสูงถึง 1.544 Mbps  
นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานแบบ 30 Bearer channel บวกกับ 1 Data Channel สำหรับความเร็ว 2.048Mbps
 3.2.  Broadband ISDN (ISDN – B)
 เป็นระบบ ISDN ที่ขยายขีดความสามารถโดยใช้โปรโตคอล ATM(Asynchronous Transfer Mode) 
ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 45 Mbps จนถึง 1 Gbps (Gigabit/Second)
 จึงสามารถใช้ในการส่งข้อมูลภาพและเสียงได้อย่างสมบูรณ์
4. ATM (Asynchronous Transfer Mode)
เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความสามารถในการรับรองการจัดหา bandwidth  ทำให้เหมาะกับการใช้งานแอพพลิเคชันใหม่ๆ  ที่ต้องมีการส่งข้อมูลจำนวนมากที่สัมพันธ์กันเครือข่าย ATM สามารถใช้กับสายเคเบิลที่มีอยู่แล้วที่ไม่ใช่สาย Fiber ได้ โดยเพียงแต่เปลี่ยน adapter และ switches ความเร็วจะอยู่ระหว่าง 25 ถึง 155 Mbps

ATM (Asynchronous Transfer Mode)



        
                 บทบาทของเครือข่ายแวนจะทำให้ทุกบริษัท ทุกองค์กร ทุกหน่วยงานเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้าสู่เครือข่ายกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และทำงานร่วมกันในระบบที่ต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิลทั้งที่วางไปตามถนนและวางใต้น้ำ เทคโนโลยีของการเชื่อมโยงได้รับการพัฒนาไปมาก แต่ก็ยังไม่พอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เครือข่าย WAN จึงเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างองค์กรระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ และเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ                                 
 
 

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment